ประกาศวันสอบปลายภาค มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2559 ระหว่างวันที่ 29พฤศจิกายน - 12 ธันวาคม 2559

วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ตามรอยประวัติศาสตร์ฉบับที่สอง....อารยธรรมอียิปต์ 

      

อารยธรรมที่มีความยิ่งใหญ่อีกแห่งหนึ่งของโลกที่มีถิ่นกำเนิดในดินแดนใกล้เคียงกับอารยธรรมเมโสโปเตเมีย คือ อารยธรรมอียิปต์ อารยธรรมอียิปต์เป็นอารยธรรมที่รู้จักกันอย่างกว้างขว้างและมีผลต่อพัฒนาการทางความคิดในหลายๆ ด้าน เนื่องจากมีมรดกทางสถาปัตยกรรม เช่น ปิรามิดและแนวความคิดและความเชื่อเกี่ยวกับศาสนาและปรัชญาอีกด้วย

อียิปต์โปราณตั้งอยู่ระหว่างโลกตะวันตกและตะวันออก โลกตะวันตกคือดินแดนที่อยู่รอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ส่วนโลกตะวันออก ได้แก่ ดินแดนเมโสโปเตเมียและดินแดนในแถบลุ่มแม้น้ำสินธุ ทิศเหนือของอียิปต์จรดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ส่วนทิศตะวันตกติดกับทะเลทรายซาฮารา ทะเลทรายลิเบีย และทะเลทรายนูเบียทางทิศตะวันออก ถัดไปคือ ทะเลแดง ทิศใต้จรดประเทศนูเบียหรือซูดานในปัจจุบัน อียิปต์เป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ เนื่องจากมีพื้นที่ตั้งอยู่บนสองฟากฝั่งแม่น้ำไนล์ แม่น้ำไนล์มีลักษณะที่ต่างไปจากแม่น้ำอื่นๆ คือ ทอดตัวไหลจากภูเขาทางตอนใต้ลงสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางตอนเหนือ มีผลต่อการดำเนินชีวิตของชาวอียิปต์โบราณ มีนคือเส้นทางคมนาคมสายหลักและเป็นเสมือนเข็มทิศในการเดินทาง โดยใช้ร่วมกับทิศทางการขึ้นและตกของดาวอาทิตย์ ชาวอียิปต์แบ่งช่วงแม่น้ำไนล์เป็น 2 ช่วง คือ ต้นน้ำทางตอนใต้เรียกว่า “อียิปต์บน” (Upper Egypt) และปลายแม่น้ำในดินแดนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำทางเหนือว่า “อียิปต์ล่าง” (Lower Egypt)



แผนที่อียิปต์โบราณ


ประมาณ 3,150 ปีก่อนคริสตกาล พระเจ้าเมเนส (Menes) หรือนาเมอร์ (Narmer) สามารถรวบรวมเมืองต่างๆ ทั้งในอียิปต์บนและอียิปต์ล่างเข้าเป็นอาณาจักรเดียวกัน และตั้งเมืองเมมฟิส (Memphis) เป็นเมืองหลวง ประวัติศาสตร์ของอียิปต์ยุคราชวงศ์จึงเริ่มต้นขึ้น ประวัติศาสตร์ของอียิปต์อาจแบ่งออกได้เป็น 4 ยุค ดังนี้
ยุคราชวงศ์เริ่มแรก อยู่ในช่วง 3100-2686 ปีก่อนคริสตกาล โดยเริ่มตั้งแต่พระเจ้าเมเนส รวบรวมเมืองต่างๆ ได้ทั้งในอียิปต์ล้างและอียิปต์บนเข้าเป็นอาณาจักรเดียวกัน และเข้าสู่ราชวงศ์ที่ 1 และ 2 ยุคนี้เป็นยุคการสร้างอียิปต์ให้มีความเป็นปึกแผ่นเข็มแข็ง
ยุคราชวงศ์เก่า อยู่ในช่วง 2686-2181 ก่อนคริสตกาล โดยเริ่มจากราชวงศ์ที่ 3 อียิปต์ประสบความวุ่นวายทางการเมือง มีการย้ายเมืองหลวงไปตามเมืองต่างๆ แต่หลังจากนั้นก็มีราชวงศ์อียิปต์ปกครองต่อมาอีก 2 ราชวงศ์ คือ ราชวงษ์ที่ 9 และ 10 ในยุคนี้อียิปต์มีฟาโรห์ปกครองเริ่มตั้งแต่ราชวงศ์ที่ 3 ถึงราชวงศ์ที่ 6 ราชวงศ์ที่โดดเด่นในสมัยนี้คือ ราชวงศ์ที่ 4 ซึ่งมีการสร้างปิรามิดที่ยิ่งใหญ่มากมายโดยเฉพาะมหาปิรามิดของฟาโรห์คูฟูที่เมืองเซห์ ซึ่งสร้างขึ้นประมาณ 2,500 ปีก่อนคริสตกาล อียิปต์ในยุคนี้ถือว่าเป็นยุคที่รุ่งเรืองที่สุดยุคหนึ่ง และการสร้างสรรค์ความเจริญในยุคนี้ได้เป็นรากฐานและแบบแผนของความเจริญของอียิปต์ในสมัยราชวงศ์ต่อๆ มา

สฟิงซ์ (Sphinx)

มหาปิรามิดแห่งกีซา (Giza) ของฟาโรห์คูฟู (Khufu)
ยุคราชวงศ์กลาง อยู่ในช่วง 2,040-1,782 ปีก่อนคริสตกาล ระหว่างราชวงศ์ที่ 11-13 ฟาโรห์ที่มีบทบาทในการสร้างความรุ่งเรืองให้กับอียิปต์ในยุคนี้คือ อเมนเนมเฮตที่หนึ่ง (Amenemhet I) จนเรียกได้ว่าเป็นยุคทองของอียิปต์ด้านเศรษฐกิจ สถาปัตยกรรม การสร้างคลองติดต่อไปถึงทะเลแดง การสร้างเขื่อนกั้นน้ำ วรรณคดีทั้งบทร้อยแก้วและร้อยกรอง ยุคนี้เป็นช่วงเดียวกันกับอารยธรรมบาบิโลนของพระเจ้าฮัมมูราบี แต่ความรุ่งเรืองของอียิปต์ก็หยุดชะงักลงจากการรุกรานของกลุ่มชนปศุสัตว์เร่ร่อนคือ พวกฮิกโซส (Hyksos) ซึ่งก่อนหน้านี้ได้เข้ายึดครองซีเรีย ปาเลสไตน์ และเอเชียไมเนอร์ได้แล้ว เพราะพวกฮิกโซสมีความเก่งกาจในการรบกว่าชาวอียิปต์ ทำให้สามารถครอบครองอียิปต์ไว้ได้ตั้งแต่ 1,670-1,570 ปีก่อนคริสตกาล แต่เนื่องด้วยอียิปต์มีความเจริญที่เหนือกว่า พวกฮิกโซสจึงเป็นฝ่ายรับความเจริญไปจากอียิปต์ จึงทำให้อารยธรรมอียิปต์ไม่ขาดความต่อเนื่องแต่อย่างใด
ยุคราชวงศ์ใหม่ อยู่ในช่วง 1,570-332 ก่อนคริสตกาล ระหว่างราชวงศ์ที่ 18-31 เมื่อ ชาวอียิปต์ได้ก่อกบฏและมีชัยเหนือชาวฮิกโซส จึงเริ่มราชวงศ์ที่ 18 และขยายอำนาจการปกครองไปยังดินแดนซีเรีย ปาเลสไตน์และฟินิเซีย เพาะมีอาณาเขตกว้างมากขึ้น สมัยนี้จึงได้รับการขนานนามว่า “สมัยจักรพรรดิ” (Empire) แต่ในช่วงหลังๆ อำนาจการปกครองจากส่วนกลางค่อยลดลง เหล่าขุนนางที่ปกครองเมืองที่หางไกลก็เริ่มแข็งขืนต่ออำนาจมากขึ้นจนถึงประมาณ 700 ปีก่อนคริสตกาล อียิปต์ก็พ่ายแพ้ต่อชาวอัสซีเรียน และเมื่ออาณาจักรเปอร์เซียได้เข้ายึดครองเมโสโปเตเมีย อียิปต์ก็ตกเป็นส่วนหนึ่งของเปอร์เซีย และประมาณ 332 ปีก่อนคริสตกาล ดินแดนอารยธรรมทั้งเมโสโปเตเมีย เปอร์เซีย และอียิปต์ก็ได้ตกอยู่ภายใต้อำนาจการปกครองของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช


อารยธรรมของอียิปต์ได้สร้างมรกดมากมายหลายด้านแก่โลก การสร้างสรรค์สิ่งต่างๆของชาวอียิปต์โบราณนอกจากการต่อสู้เพื่อความอยู่รอดจากความโหดร้ายของธรรมชาติยังได้รับแรงผลักดันจากความคิดความเชื่อทางศาสนาและชีวิตหลังความตายอีกด้วย ชาวอียิปต์ยอมรับนับถือเทพเจ้ามากมาย ในแต่ละชุมชนมีวัดหรือวิหารศักดิ์สิทธิ์เป็นที่ประกอบพิธีทางศาสนา บูชาเทพเจ้าและดวงวิญญาณของฟาโรห์ ชาวอียิปต์นับถือเทพแทบทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นหมาใน จระเข้ ฮิปโปโปเตมัส แมว แมลงเต่าทอง และในเวลาต่อมาการบูชาสัตว์ได้เปลี่ยนเป็นครึ่งคนครึ่งสัตว์ และเป็นคนโดยสมบูรณ์ เช่นการนับถือดวงอาทิตย์ ซึ่งถือว่าเป็นพลังอันยิ่งใหญ่ และเทพเจ้าที่สำคัญที่มีรูปร่างเป็นมนุษย์ซึ่งชาวอียิปต์ให้ความนับถือ คือ โอซิริส (Osiris) ถือว่าเป็นเทพเจ้าที่มีความอมตะ เป็นประมุขแห่งเทพเจ้าทั้งหลาย และเป็นเทพแห่งความอุดมสมบูรณ์และความตาย เทพเจ้าเร (Re) เป็นเทพแห่งดวงอาทิตย์ผู้ประทานชีวิต

นอกจากนั้นแล้วยังนิยมบูชาพระเครื่องและตะกรุดเป็นเครื่องรางของขลัง จึงกล่าวได้ว่าความเชื่อเรื่องเทพเจ้า สิ่งศักดิ์สิทธิ์หยั่งรากลึกและเจริญเติบโตอยู่ในชีวิตและจิตวิญญาณของคนอียิปต์อย่างแท้จริง ความเชื่อที่โดดเด่นพิเศษของชาวอียิปต์อีกประการหนึ่ง คือ ความเชื่อในโลกหน้าหรือความเชื่อเกี่ยวกับโลกหลังความตาย ซึ่งเป็นแรงจูงใจที่สำคัญยิ่งในการก่อสร้างปิรามิดและการทำมัมมี่



เทพโอซิริส



มัมมี่



เทพที่มีรูปครึ่งคนครึ่งสัตว์


ชาวอียิปต์เชื่อว่า วิญญาณเป็นอมตะ เรียกว่า Ka มาจากเทพสูงสุดเป็นคนสร้างวิญญาณให้มนุษย์ เพราะว่าวิญญาณเป็นอมตะจึงต้องสร้างปิรามิดเพื่อเก็บมัมมี่ เพื่อให้วิญญาณของผู้ตายกลับมาสู่ร่างเดิมได้ การสร้างปิรามิดในยุคแรกนั้น เป็นเนินหลุมฝังธรรมดา เรียกว่า “มาสตาบา” (Mastabas) แปลว่า ม้านั่ง ในภาษาอารบิก ภายในลึกลงไปใต้ดินจะมีห้องหลายห้องสำหรับไว้เก็บศพหรือมัมมี่และสิ่งของผู้ตาย ถัดมาจึงทำเป็นปิรามิดขนาดใหญ่มีทั้งรูปแบบที่เป็นปิรามิดแบบขั้นบันได ต่อจากนั้นมีการสร้างปิรามิดที่มีด้านแต่ละด้านเรียบลาดเทลงมายังฐานสี่เหลี่ยม เรียกว่า “ปิรามิดหลวง” (Royal Pyramids) เช่น ปิรามิด 3 องค์แห่งเมืองกีซา และระยะหลังนอกจากการสร้างปิรามิดแล้วยังมีการสร้างวิหารสำหรับบูชาเทพเจ้า เช่นในยุคราชวงศ์กลางมีการเน้นเรื่องเทพเจ้ามากขึ้น จึงมีการสร้างวิหารถวายเทพเจ้า ส่วนมัมมี่ของฟาโรห์ก็มีการเก็บไว้ในภูเขาหิน หรือที่เรียกว่า “หุบเขากษัตริย์” ต่อมาในยุคราชวงศ์ใหม่มีการสร้างวิหารขึ้นอีก 2 แห่ง คือ วิหารสำหรับทำพิธีพระศพของฟาโรห์วิหารถวายเทพเจ้า เช่นวิหารของพระนางฮัทเซพสุต (Queen Hatshepsut) และวิหารคาร์นัค (Karnak)



มาสตาบา ปิรามิดแบบขั้นบันได



ปิรามิดแห่งกีซา



วิหาร



ฟาโรห์ฮัทเซพสุต



วิหารแห่งคาร์นัค


การสร้างปีรามิดของชาวอียิปต์สะท้อนให้เห็นความเชื่อในเรื่องชีวิตหลังความตายและความเป็นอมตะของวิญญาณ ถ้าตายแล้วจะยังคงมีชีวิตอยู่ต่อไปและยังมีความเกี่ยวข้องกับร่างเดิมอยู่ จึงมีแนวความคิดในการรักษาร่างเดิมไว้ โดยการทำมัมมี่ นอกจากความเชื่อในเทพเจ้าและการหมกมุ่นอยู่กับโลกหลังความตายแล้ว ยังปรากฏว่า มีพัฒนาการความคิดทางด้านปรัชญาแฝงอยู่ในความเชื่อของชาวอียิปต์ เช่นในหนังสือของผู้ตาย (The Book of Dead) ซึ่งเป็นหนังสือทางศาสนาและพิธีกรรมที่มีบทบาทต่อวิถีชีวิตของชาวอียิปต์มากที่สุด มีบทกวีที่ผู้ตายจะต้องกล่าวต่อเทพโอซิริส (Osiris) ว่า

“ข้าฯ ไม่ได้ทำให้ใครเจ็บปวด
ข้าฯ ไม่ได้ทำให้คนหิวโหย
ข้าฯ ไม่ได้ทำให้ใครหลั่งน้ำตา
ข้าฯ ไม่ได้ทำให้คนตาย
ข้าฯ ไม่ได้ทำให้คนต้องทุกข์ทรมาน” (ธีรยุทธ บุญมี. 2546: 31)

บทกวีนี้สะท้อนให้เห็นหลักศีลธรรมจริยธรรมของชาวอียิปต์รวมถึงหลักเมตตาธรรมและอารมณ์ความรู้สึกด้านอื่นๆ ของมนุษย์และการรู้จักรับผิดชอบในหน้าที่ของตนเองอีกด้วย

บทกวีที่สำคัญมากของพัฒนาการทางความคิดของอียิปต์อีกบทหนึ่ง ปรากฏอยู่ในจารึกของเทพธิดา Neith ซึ่งกล่าวว่า “ข้าคือสิ่งที่เป็นอยู่และเคยเป็น และจะเป็นไป ไม่มีใครได้เปิดม่านคลุมหน้าเพื่อยลโฉมข้าได้” (I am that which is, that which was and that will be. No one has lifted my veil.) (แหล่งเดิม. หน้า 32) จารึก Neith สะท้อนให้เห็นความสนใจปรัชญาที่ละเอียด และเป็นความจริงสูงสุดซึ่งไม่สามารถใช้คำพูดหรือคำบรรยายใดอธิบายได้ นั่นอาจหมายความว่า ความจริงเป็นสิ่งที่ข้ามพ้นขอบเขตของภาษาไป






#ขอบขอบคุณข้อมุลจาก http://civilizationancient.blogspot.com/


#เพื่ออนาคตของเยาวชนไทย^^

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น