ประกาศวันสอบปลายภาค มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2559 ระหว่างวันที่ 29พฤศจิกายน - 12 ธันวาคม 2559

วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ยุคสมัยประวัติศาสตร์เริ่มต้นของโลก เริ่มที่...เมโสโปเตเมีย


อารยธรรมเมโสโปเตเมีย

- กำเนิดในลุ่มแม่น้ำสองสาย คือ ไทกริสและยูเฟรติส เป็นแหล่งอารยธรรมแรกของโลก เมื่อประมาณ 3500 ปี ก่อนค.ศ. เนื่องจากเป็นแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ท่ามกลางดินแดนทะเลทรายและภูเขา (ปัจจุบันได้แก่ประเทศอิรัก)
- บริเวณที่ราบที่แม่น้ำทั้งสองสายบรรจบกันและไหลลงสู่ทะเล อ่าวเปอร์เซีย เรียกว่า “บาบิโลเนีย”
- โดยเหตุนี้ ทำให้มีชนหลายกลุ่มหลายเผ่าผลัดกันมาตั้งถิ่นฐาน และมีอำนาจในดินแดนแถบนี้

3500 BC.
ชนเผ่าสุเมเรียน Sumerian
- เป็นชนเผ่าแรกที่เข้าครอบครอง และทำการก่อสร้างระบบชลประทานเป็นชาติแรก
- สังคมของสุเมเรียนยกย่อง เกรงกลัวเทพเจ้า นิยมก่อสร้างศาสนสถานเรียกว่า “ซิกกูแรต” สร้างด้วยอิฐตากแห้ง
- ชาวสุเมเรียน เป็นกลุ่มแรกที่ประดิษฐ์อักษร ได้แก่ อักษรลิ่ม หรือ “คูนิฟอร์ม” cuneiform นักประวัติศาสตร์จึงนับเอาเป็นเกณฑ์ในการแบ่งยุคประวัติศาสตร์
- “กิลกาเมซ” Epic of Gilgamesh เป็นมหากาพย์ ที่ถูกแต่งขึ้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับน้ำท่วมโลก
- มีความเจริญทางด้านคณิตศาสตร์ ปฏิทิน และการชั่ง ตวง วัด
2000 BC.
ชนเผ่าอามอไรต์ Amorite
- หลังจากสุเมเรียนเสื่อมอำนาจ ชาวอามอไรต์ Amorite ได้ตั้ง อาณาจักรบาบิโลเนีย Babylonia ขึ้นมา การปกครองแบบรวมศูนย์ การจัดเก็บภาษี การเกณฑ์ทหาร
- สมัยพระเจ้าฮัมมูราบี ( 1792-1745 B.C.) ได้มี “ประมวลกฎหมายฮัมมุราบี” เป็นลายลักษณ์อักษร จารึกแผ่นศิลา ยึดถือหลัก ตาต่อตา ฟันต่อฟัน ในการลงโทษ
ชนเผ่าฮิตไทต์ Hittite
- เข้ายึดครองแทนในดินแดนแถบนี้ เมื่อ 1590 B.C.
ชนเผ่าคัสไซต์ Kassite
- อพยพมาจาก เทือกเขาซากรอส เข้าครอบครองต่อ และมีอายุยาวนานต่อเนื่องกว่า 400 ปี



800 B.C.
ชนเผ่าอัสซีเรีย
- พวกอัสซีเรียน ได้เข้ายึดครองกรุงบาบิโลน มีศูนย์กลางที่ นิเนเวห์ ตั้งจักรวรรดิอัสซีเรีย Assyrian
- สมัยพระเจ้าอัสชูร์บานิปาล 668-629 B.C. อัสซีเรียมีความเจริญขีดสุด
612 B.C
ชนเผ่าคาลเดีย
. เผ่าคาลเดียน Chaldean เข้ายึดครองนิเนเวห์สำเร็จ สถาปนากรุงบาบิโลนขึ้นใหม่
- สมัยพระเจ้าเนบูคัดเนซซาร์ 605-562 B.C. สามารถตีเยรูซาเลม และกวาดต้นเชลยมาเป็นจำนวนมาก ได้สร้าง “สวนลอยแห่งบาบิโลน” Hanging Gardens of Babylon
- ชาวคาลเดียน เป็นชาติแรกที่นำเอาความรู้ด้านดาราศาสตร์มาพยากรณ์โชคชะตามนุษย์ และยังสามารถคำนวณด้านดาราศาสตร์ได้อย่างแม่นยำ





539 B.C.
พระเจ้าไซรัสมหาราช แห่งเปอร์เซีย
เข้ายึดครอง และผนวกเข้ากับจักรวรรดิ์เปอร์เซีย ทำให้ประวัติศาสตร์แถบเมโสโปเตเมียสิ้นสุดลง
ชนชาติอื่นในเอเชียไมเนอร์
ได้แก่ ดินแดนที่อยู่ระหว่าง ทะเลดำ กับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (ปาเลสไตน์ ตุรกี ซีเรีย)
1. ฟินิเชียน • 1300-1000 B.C.

เชี่ยวชาญในการเดินเรือทะเล มีเมืองท่าคือ ไทร์ และไซดอน ค้าขายจนถึงตอนเหนือแอฟริกา (เมืองคาร์เทจ Carthage)
จากการเปิดกว้างของวัฒนธรรม ทำให้ชาวฟินิเชียนดัดแปลงตัวอักษร เฮียราติก และคูนิฟอร์ม มาเป็น “อัลฟาเบต” Alphabet ต่อมากลายเป็นต้นแบบของภาษากรีก ละติน ชาติ

ตะวันตก และตะวันออก อื่น ๆ ด้วย




2. ฮีบรู 1400 B.C
• เรียกอีกชื่อว่า “ยิว” เร่ร่อนในทะเลทราย . ถูกจับเป็นทาสที่อียิปต์ ต่อมา “โมเสส” เป็นผู้ช่วยปลดแอก แล้วอพยพไปตั้งถิ่นฐานที่ปาเลสไตน์ Canaan
• เนื่องจากเป็นชาติที่ไม่เข้มแข็งเรื่องการทหาร จึงถูกชนเผ่าอื่นครอบครองซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนกระทั่งยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงเกิดเป็นประเทศอิสระ ชื่อว่า “อิสราเอล”
• มรดกตกทอดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดได้แก่ “คัมภีร์ไบเบิ้ล” ถือเป็นหลักฐานประวัติศาสตร์ชิ้นสำคัญของโลก รวมไปจนถึงการเป็นต้นกำเนินศาสนาคริสต์ และอิสลาม


อารยธรรมเมโสโปเตเมีย 
คำว่า เมโสโปเตเมีย เป็นภาษากรีกมาจากคำว่า Mesos เท่ากับภาษาอังกฤษว่า Middle และคำว่า Potamos เท่ากับภาษาอังกฤษว่า River รวมความแล้วหมายถึง “ดินแดนระหว่างแม่น้ำ” (land between the rivers) ได้แก่ที่ราบระหว่างแม่น้ำไทกริส (Tigris) ทางตะวันออก และแม่น้ำยูเฟรติส (Euphrates) ทางตะวันตก พื้นที่นี้ตั้งอยู่ทางทิสตะวันตกเฉียงใต้ของเอเชียในบริเวณที่เชื่อมต่อระหว่างทวีปเอเชีย ยุโรป และแอปริกา โดยเฉพาะทางตะวันตกเฉียงเหนือซึ่งหันออกสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เป็นจุดเชื่อมโยงติดต่อกับอารยธรรมอียิปต์โบราณ พื้นที่ของแหล่งอารยธรรมทั้งหมดจะกินอาณาบริเวณจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไปสู่อ่าวเปอร์เซีย มีลักษณะเป็นรูปเสี้ยวจึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ดินแดนพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์” ครอบคลุมดินแดนบางส่วนในประเทศอิรักและซีเรียในปัจจุบัน ถือเป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมเก่าแก่แห่งแรก เมื่อราว 3,500 ปี ก่อนคริสตกาล
จากลักษณะทางภูมิศาสตร์ของเมโสโปเตเมีย เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำมีการทับถมของดินตะกอนตามชายฝั่งแม่น้ำทั้งสอง ทำให้บริเวณแถบนี้อุดมสมบูรณ์และมีสภาพเหมาะสมแก่การเพาะปลูก แม้ว่าสภาพอากาศในดินแดนแถบนี้จะแปรปรวนไม่จนสามารถคาดเดาได้ก็ตาม เกิดความแห้งแล้งลำน้ำท่วมเป็นประจำ อันเป็นเหตุให้การควบคุมน้ำหรือการชลประทานสำคัญจำเป็นต่อการทำกสิกรรมของผู้คนแถบนี้ นอกจากนั้นแล้ว ทางบกยังติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เชื่อมต่ออียิปต์และอารยธรรมที่กำลังก่อตัวในยุโรปได้ทางตอนใต้ก็ยังเปิดสู่อ่าวเปอร์เซีย ซึ่งเออำนวยต่อการขนส่งค้าขายทางทะเลกับอารยธรรมที่ห่างไกล เช่น สินธุ ลักษณะเช่นนี้เอง ทำให้ดินแดนเมโสโปเตเมียแห่งนี้ เป็นที่หมายปองของชนกลุ่มต่างๆ


แผนที่อารยธรรมเมโสโปเตเมีย


ช่วงประมาณ 4000 ปีก่อนคริสตกาลลงมาพบว่า มนุษย์ที่เมโสโปเตเมียเริ่มเรียนรู้การใช้โลหะทองแดง และพบหลักฐานความรู้เกี่ยวกับภูมิศาสตร์ และดาราศาสตร์ เป็นต้น ถัดมาประมาณ 3600-2800 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งอยู่ในยุคอูรุก (Uruk) ถือเป็นการเริ่มต้นอารยธรรมเมืองในลักษณะนคร-รัฐ (city-state) และที่นี้มีวิหารสองแห่ง คือ วิหารสำหรับบูชาเทพอาทิตย์และวิหารสำหรับบูชาเทพอินันนา (Inanna) ซึ่งเป็นเทพีแห่งความรักและความอุดมสมบูรณ์

เทพี Inanna
เทพในช่วงนี้ของเมโสโปเตเมียมีหลายองค์ เช่น วัวกระทิง ซึ่งมีความหมายถึงสวรรค์ Enlil เป็นเทพของสายฟ้าหรือดินฟ้าอากาศ Ea เป็นเทพแห่งน้ำและมีการสร้างวิหารที่เรียกว่า “ซิกกูแรต” (Ziggurat) หมายถึง ห้องรอคอยเพื่อบูชาหรือพบพระเจ้า สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นสถานที่ติดต่อหรือเชื่อมระหว่างโลกและสวรรค์

ซิกกูแรต
ช่วงประมาณ 3000 ปีก่อนคริสตกาล คนกลุ่มแรกที่สร้างอารยธรรมเมโสโปเตเมียขึ้นคือชาวสุเมเรียน ผู้คิดประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นเป็นครั้งแรกในโลก อารยธรรมที่ชาวสุเมเรียนขึ้นเป็นพื้นฐานสำคัญของอารยธรรมเมโสโปเตเมีย สถาปัตยกรรม ตัวอักษร ศิลปกรรมอื่นๆ ตลอดจนทัศนคติต่อชีวิตและเทพเจ้าของชาวสุเมเรียน ได้ดำรงอยู่และมีอิทธิพลอยู่ในลุ่มแม่น้ำทั้งสองตลอดช่วงสมัยโบราณ

ลักษณะสังคมของชาวสุเมเรียนเป็นอารยธรรมแบบเมือง ประกอบด้วยผู้คนหลากหลายอาชีพ เช่น ชาวนา ช่างโลหะ ช่างทอง พระ ขุนนางและผู้ปกครองหรือกษัตริย์ ชาวสุเมเรียนมีการปกครองแบบรัฐศาสนา คือมีนักบวช ซึ่งนอกจากทำหน้าที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาและความเชื่อแล้ว ยังเป็นผู้บริหารจัดการเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรอีก เช่น การจักสรรน้ำและที่ดินเพื่อการเกษตร การแลกเปลี่ยนค้าขาย ธนาคาร เป็นต้น นักบวชและวัดในสมัยนี้จึงมีบทบาทสำคัญมาก
มรดกชิ้นสำคัญซึ่งชาวสุเมเรียนได้สร้างไว้ คือ การประดิษฐ์อักษรใช้บันทึกเรื่องราวต่างๆ โดยใช้ไม้หรือโลหะแหลมจารลงบนแผ่นดินเหนียวโดยพัฒนาจากตราประทับทรงกระบอกที่เป็นอักษรภาพง่ายๆ เวลาใช้ต้องนำกระบอกกลิ้งหมุนบนแผ่นดินเหนียว เป็นจุดกำเนิดของตัวอักษรครั้งแรกจนกลายเป็นอักษรรูปลิ่ม และผ่านการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นต้นตอของตัวอักษรกรีก และละติน

อักษรรูปลิ่ม
จากความมั่งคั่งและเจริญรุ่งเรืองของชาวเมโสโปเตเมียได้ดึงดูดกลุ่มชนอัคคาเดียน ซึ่งเป็นกลุ่มของพวก Semite และบรรพบุรุษของชาวยิว Hebrew ซึ่งมีต้นกำเนิดอยู่ในคาบสมุทรอารเบีย (Arabia) ได้แทรกซึมเข้ามาในดินแดนของชาวสุเมเรียนและได้ยึดครองเมโสโปเตเมีย ประมาณปี 2,360 ก่อนคริสตกาล ชาวอัคคาเดียนได้ปกครองดินแดนเมโสโปเตเมียอยู่ประมาณ 200 ปี กษัตริย์ที่สำคัญของอัคคาเดียนคือ พระเจ้าซาร์กอน (Sargon) ได้รวบรวมนครรัฐของสุเมเรียนทั้งหมด การรวมครั้งนี้มีผลให้อารยธรรมของพวกสุเมเรียนจากตอนล่างของลุ่มแม่น้ำไทกริสและยูเฟรติส ได้ขยายขึ้นเหนืออย่างกว้างขวาง ผลจากการครอบครองสุเมเรียนของชาวอัคคาเดียนทำให้เทพเจ้าของพวกเขาที่ชื่อว่า “มาร์ดุก” (Marduk) เข้ามาเป็นเทพเจ้าสูงสุดแทนที่เทพ Enlil เดิม

เทพเจ้ามาร์ดุก
ชนชาติถัดมาที่เข้ายึดครองดินแดนเมโสโปเตเมียคือ ชาวบาบิโลน ซึ่งเป็นเมืองที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเมืองยูรุก (Uruk) ใกล้แม่น้ำยูเฟรตีส ในสมัยนี้มีกษัตริย์ซึ่งเป็นที่รู้จักในนาม “ฮัมมูราบี” เป็นผู้สร้างความยิ่งใหญ่และความเจริญแก่ดินแดนเมโสโปเตเมีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบัญญัติกฎหมายบังคับใช้ในดินแดนของพระองค์ เรียกว่า “ประมวลกฎหมายแห่งฮัมมูราบี” (Code of Hammurabi) กฎหมายนี้มีลักษณะการลงโทษแบบตาต่อตา ฟันต่อฟัน กฎหมายนี้มีวัตถุประสงค์ส่วนหนึ่งเพื่อปรับเปลี่ยนวิธีการควบคุมคน แทนการใช้จารีตประเพณีและความเชื่อในอำนาจศักดิ์สิทธิ์ และเทพเจ้า

รูปแท่นหินจารึกกฎหมายฮัมมูราบ
หลังจากกษัตริย์ฮัมมูราบีสิ้นอำนาจลง ก็มีชนเผ่าหลายชนเผ่า ได้แก่ ชาวฮิตไตท์ (Hitties) ชาวแคสไซส์ (Kassites) ชาวอีลาไมล์ (Elamites) และชาวอัสซีเรียน (Assyrians) แต่ชาวอัสซีเรียนถือว่าเป็นชนเผ่าที่มีบทบาทในการสร้างอารยธรรมอย่างโดดเด่น โดยในช่วงแรกได้ย้ายเมืองจากหลวงจากกรุบาบิโลนมาตั้งที่เมืองอัสซูร์ (Assur) ซึ้งตั้งอยู่บนริมฝั่งตอนกลางของแม่น้ำไทกริส และได้ครองอำนาจถึงขีดสุดระหว่าง 712-612 ปีก่อนคริสตกาล ชาวอัสซีเรียนได้ขยายอำนาจการปกครองครอบคลุมไปถึงซีเรียน ปาเลสไตน์ และบางส่วนของอียิปต์

จากอำนาจและบทบาททางอารยธรรมของชาวอัสซีเรียนทำให้เทพอสูร (Assur) ซึ่งเป็นเทพประจำเมืองอัสซูร์ ได้รับการยอมรับนับถืออย่ากว้างขวางและมีความสำคัญเท่ากับเทพมาร์ดุก (Marduk) ซึ่งเป็นเทพเจ้าของชาวอัคคาเดียนเดิม และได้ขยายอิทธิพลความเชื่อต่ออารยธรรมอื่นๆ เช่น เปอร์เซีย และอินเดีย แต่ด้วยความโหดร้ายของชาวอัสซูร์ทำให้ประชาชนต่อต้านและเสื่อมอำนาจลงในที่สุด ทำให้บทบาทของอสูรเทพของชาวอัสซีเรียนลดบทบาทลงและเสื่อมคลายไปจนกลายเป็นตัวร้ายในนิทาน แนวความคิดเรื่องอสูรเทพนี้มีอิทธิพลต่อวรรณคดีไทย เพราะวรรณคดีไทยหลายเรื่องได้รับแนวคิดมาจากอารยธรรมอินเดียอีกทอดหนึ่ง

ต่อมาเมื่อชาวอัสซีเรียนพ่ายแพ้สงครามต่อชาวเมเดสและชาวเมืองบาบิโลน อำนาจการปกครองจึงเปลี่ยนไปและเริ่มต้นยุคใหม่ เรียกยุคนี้ว่า “ยุคบาบิโลนใหม่” หรือ “นีโอบาบิโลน” (Neo Babylon) ภายใต้การปกครองของพระเจ้าเนบุชัดเนซซาร์ที่สอง (Nebuchadnessar II) กษัตริย์พระองค์นี้ถือว่าเป็นกษัตริย์นักรบที่เก่งกาจ พระองค์ได้ยกทัพไปรบชนะชาวยิวยึดครองนครเยรูซาเล็ม ได้เชลยชาวยิวมาเป็นแรงงาน ในยุคของพระองค์ได้มีการก่อสร้างวิหารและพระราชวังหลายแห่ง และผลงานทางสถาปัตยกรรมที่สำคัญและถือว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์หนึ่งในเจ็ดแห่งของโลกสมัยโบราณคือ “สวนลอยแห่งเมืองบาบิโลน” (The hanging gardens of Babylon) ซึ่งเป็นสวนที่มีถนนกว้างปูลาดด้วยแผ่นหินและลาดด้วยยางมะตอย เพื่อให้เป็นเส้นทางของขบวนแห่เฉลิมฉลองเทพมาร์ดุก (Marduk) ซึ่งกลับมามีบทบาทสำคัญต่อชาวเมืองบาบิโลนอีกครั้ง

ภาพวาดสวนลอยบาบิโลน

สิงห์โตแห่งบาบิโลน

ซากสวนลอยแห่งบาบิโลน

กำแพงแห่งสวนลอยบาบิโลน


จักรวรรดิบาบิโลนใหม่ รุ่งเรืองจนถึงประมาณ 539 ปีก่อนคริสตกาล อาณาจักรบาบิโลนก้ตกอยู่ภายใต้การยึดครองของพระเจ้าไซรัสมหาราช (Cyrus, the Great) ซึ่งเป็นกษัตริย์แห่งเปอร์เซีย ดินแดนเมโสโปเตเมียซึ่งรุ่งเรืองผ่านการปกครองและอารยธรรมชนเผ่าต่างๆ มายาวนาน ก็สิ้นสุดลงในที่สุด


อารยธรรมเมโสโปเตเมียได้พัฒนาขึ้นถึงขีดสุดผ่านกลุ่มชนหลายเผ่าพันธุ์ที่เข้ามาครอบครองและผสมผสานความคิดความเชื่อของตนเองกับชนเผ่าต่างๆ ชีวิตของชาวเมโสโปเตเมียผูกพันกับพระและวัดอย่างมาก ชาวสุเมเรียนซึ่งเป็นชนกลุ่มแรกๆ ที่เข้ามาครอบครองดินแดนเมโสโปเตเมีย มีลักษณะความเชื่อในเทพเจ้าและโลกหลังความตายเป็นหลัก และมีการนับถือเทพเจ้าหลายองค์ ซึ่งเทพเจ้าแต่ละองค์ก็มีบทบาทสำคัญต่อการดำรงชีวิตให้คุณและโทษแก่ตนเอง เช่น อูโต เทพแห่งดวงอาทิตย์ อินันนา เทพแห่งความอุดมสมบูรณ์และความรัก อินลิล เทพแห่งสายฟ้า หรือดิน ฟ้า อากาศ เป็นต้น นอกจากการนับถือเทพเจ้าแล้วแล้ว ชาวสุเมเรียนยังเชื่อในไสยศาสตร์ นับถือโชคลางและปรากฏการณ์ธรรมชาติอีกด้วย ผู้มีบทบาทสำคัญในการสื่อสารระหว่างชุมชนกับเทพเจ้าคือ พระ โดยผ่านการทำพิธีกรรม เช่นการจัดหารอาหาร และที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ การสร้างที่พำนักให้แก่เทพเจ้า และมีเทพเจ้าหลายองค์ที่กลายเป็นเทพเจ้าประจำรัฐ แต่ในขณะเดียวกันก็ยอมรับนับถือเทพเจ้าองค์อื่นๆ ด้วย

พัฒนาการทางความคิดที่สำคัญของชาวสุเมเรียนอีกประการหนึ่ง คือ การรู้จักการคูณ การหาร ระบบหน่วยหกสิบ ได้แก่ 6, 60, 600, 3,600 ซึ่งปัจจุบันใช้กับการนับเวลาและการคำนวณวงกลม นอกจากนี้ยังได้คิดระบบชั่ง ตวง วัด ซึ่งเป็นรากฐานที่มาของการชั่งที่คิดน้ำหนักเป็นปอนด์ ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ ส่วนชาวคาลเดียนสามารถคำนวณวันเกิดสุริยปราคาและจันทรุปราคา รวมทั้งสามารถจัดแบ่งสัปดาห์ออกเป็น 7 วัน

#ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://sites.google.com/site/phensirikm/neuxha-bth-reiyn/xandab-thi-3
#เพื่ออนาคตของเยาวชนไทย^^

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น