การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์ไทย
การแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ตามแบบไทย
นักประวัติศาสตร์นิยมแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ตามแบบไทย ที่มีลักษณะเป็นรูปแบบของตนเอง ดังนี้
๑. แบ่งตามสมัยหรือตามเวลาที่เริ่มมีตัวอักษร โดยแบ่งได้ ๒ สมัย ดังนี้
๑.๑
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ หมายถึง
ยุคที่ยังไม่มีการบันทึกเรื่องราวเป็นลายลักษณ์อักษร แบ่งออกเป็นยุคหิน (ยุคหินเก่า ยุคหินกลาง
ยุคหินใหม่) และยุคโลหะ (ยุคสำริด ยุคเหล็ก)
โดยมีการขุดค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทยตามลำดับ
๑.๒
สมัยประวัติศาสตร์ หมายถึง
ยุคที่มนุษย์เริ่มมีการใช้ตัวอักษรบันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆ
จากหลักฐานที่ค้นพบ ได้แก่ หลักศิลาจารึก
๓.๒) แบ่งยุคสมัยตามอาณาจักร
ได้มีการแบ่งยุคสมัยตามอาณาจักร ได้แก่ อาณาจักรทวารวดี(นครปฐม) อาณาจักรละโว้ (ลพบุรี)
อาณาจักรตามพรลิงค์ (นครศรีธรรมราช) อาณาจักรศรีวิชัย (สุราษฎร์ธานี) อาณาจักรหริภุญชัย (ลำพูน)
๓.๓) แบ่งยุคสมัยตามราชธานี
เป็นการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ตามราชธานีของไทยเรียงความลำดับ เช่น
สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สมัยธนบุรีและสมัยรัตนโกสินทร์
๓.๔) แบ่งยุคสมัยตามพระราชวงศ์
เป็นการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ตามพระราชวงศ์ เช่น
สมัยราชวงศ์พระร่วงของอาณาจักรสุโขทัย สมัยราชวงศ์อู่ทอง สมัยราชวงศ์สุพรรณภูมิ
สมัยราชวงศ์สุโขทัย สมัยราชวงศ์ปราสาททอง สมัยราชวงศ์บ้านพลูหลวง
โดยทั้งหมดเป็นชื่อพระราชวงศ์ที่ครองราชย์สมบัติเป็นกษัตริย์ในสมัยอยุธยา
ราชวงศ์จักรี ในสมัยรัตนโกสินทร์
๓.๕) แบ่งยุคสมัยตามรัชกาล
เป็นการแบ่งยุคสมัยในช่วงเวลาที่พระมหากษัตริย์พระองค์นั้นครองราชย์อยู่ ได้แก่
รัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
และรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
๓.๖) แบ่งยุคสมัยตามระบอบการเมืองการปกครอง ได้แก่
สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์และสมัยประชาธิปไตย
โดยถือเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕
เป็นเส้นแบ่งยุคสมัยการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย
VDO ศึกษาเพิ่มเติม
ขอขอบคุณ
https://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=8&cad=rja&uact=8&ved=0ahUKEwj34fCf1cbQAhWJOY8KHZo6BacQFghBMAc&url=http%3A%2F%2Fdlit.ac.th%2Fresources_ftp%2FSOCIAL%2FLessonPlans%2FS1%2F%25E0%25B8%259B%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B0%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%25A8%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25A3%25E0%25B9%258C_%25E0%25B8%25A11_%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%2599%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%25B5%25E0%25B9%25881_%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25B2%25E0%25B9%2581%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25B0%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B9%2581%25E0%25B8%259A%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25B8%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%259B%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B0%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%25A8%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25A3%25E0%25B9%258C.doc&usg=AFQjCNHK9R7fy6mz95-bxVmxQxWUjoU-Ig
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น