ประวัติศาสตร์ ม.
คำว่า “ประวัติศาสตร์” หรือ History มาจากคำภาษากรีกว่า Historia ซึ่งแปลว่า การไต่สวน สืบสวน ค้นคว้า ตรวจสอบ วินิจฉัยเรื่องราวต่าง ๆ นักประวัติศาสตร์และผู้รู้หลายท่านให้คำนิยาม ความหมายของประวัติศาสตร์ ไว้ต่าง ๆ กันมากมายหลายความหมาย แต่ก็ยังไม่มีคำจำกัดความที่ตายตัวแน่นอนมาจน ทุกวันนี้
- ลิโอ ตอลสตอย กล่าวว่า “ประวัติศาสตร์คือเรื่องราวของชีวิต ของประเทศชาติและมนุษยชาติ….”
- ดร.สมศักดิ์ ชูโต อธิบายว่า “วิชาประวัติศาสตร์พยายามที่จะบันทึกและทำความเข้าใจกับปรากฏการณ์ต่างๆ ในโลกอันเกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์ทุกด้าน……”
- พล.ท.ดำเนิร เลขะกุล ได้สรุปความคิดเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ว่า “คือ บันทึกที่บรรยายเรื่องราวทุก ๆ ด้านในอดีตของมนุษย์ และบันทึกนั้นเป็น ความจริงที่สามารถพิสูจน์ได้ซึ่งอาจจะเป็นการเรียบเรียงต่อเนื่องกันมาโดยตลอด หรือเรียบเรียงเฉพาะตอนหนึ่งตอนใดของเรื่องทั้งหมดก็ได้…...”
- ดร.แถมสุข นุ่มนนท์ ให้ทรรศนะว่า “ประวัติศาสตร์คือ การไต่สวนเข้าไปให้รู้ถึงความจริงที่เกี่ยวกับพฤติกรรมของ มนุษยชาติที่เกิดขึ้นในช่วงใดช่วงหนึ่งของอดีต…”
การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
๑.
การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ตามแบบสากล
จุดมุ่งหมายในการแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์
เป็นยุคสมัยต่างๆ
เพื่อให้เกิดความสะดวกในการศึกษาค้นคว้าเรื่องราวของมนุษย์ในอดีตและช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้น
ช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ตามแบบสากลแบ่งออกเป็น ๒ สมัย คือ
๑.๑ สมัยก่อนประวัติศาสตร์
สมัยก่อนประวัติศาสตร์
เป็นช่วงเวลาที่มนุษย์ยังไม่รู้จักการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้ จึงยังไม่
มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นลายลักษณ์อักษร
ดังนั้นการศึกษาเรื่องราวของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จึงต้องอาศัยการวิเคราะห์และตีความจากหลักฐานทางโบราณคดีที่ค้นพบ
เช่น เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องประดับที่ทำจากหิน โลหะ และโครงกระดูกมนุษย์
อ้างอิงภาพ https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEg7CTzw8qnS3nIGyWycqSxm3Bv1G1tVvcc59cTiCFnwPPrasVsB6611rbj205VcVYOf0Epy9jkP41ggrRLUfTZyKkYPdPa9DCBsvelJoNZGVhXtaz_b1e7MRmjsxC-xfFSe1y9kpALqUDY/s400/Paleolithic-life.jpg
ปัจจุบันการกำหนดอายุสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย อาศัยพัฒนาการทางเทคโนโลยีแบบแผนการดำรงชีพและสังคม ยุคสมัยทางธรณีวิทยา นำมาใช้ร่วมกันในการกำหนดยุคสมัย โดยสามารถแบ่งยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ได้ดังนี้
๑) ยุคหิน เริ่มเมื่อประมาณ ๕๐๐,๐๐๐ ถึง ๔,๐๐๐ ปี ล่วงมาแล้ว แบ่งเป็น ๓ ยุคย่อย ดังนี้ ยุคหินเก่า
(๕๐๐,๐๐๐
– ๑๐,๐๐๐ ปีมาแล้ว ) เป็นช่วงเวลาแรก ๆ ของมนุษยชาติ มนุษย์รู้จักใช้เครื่องมือขวานหินกะเทาะ ในระยะแรก
เครื่องมือจะมีลักษณะหยาบ โดยนำหินกรวดแม่น้ำมากะเทาะเพียงด้านเดียวและไม่ได้กะเทาะหมดทั้งก้อน ใช้สำหรับขุดสับและสับตัด มนุษย์ในยุคหินเก่า ดำรงชีวิตอย่างเร่ร่อน ล่าสัตว์และหาของป่ากินเป็นอาหาร ยุคหินกลาง (๑๐,๐๐๐ – ๖,๐๐๐ ปีมาแล้ว)
เป็นช่วงเวลาที่มนุษย์รู้จักทำเครื่องมือเครื่องใช้สำหรับล่าสัตว์ด้วยหินที่มีความประณีตมากขึ้นและมนุษย์ในยุคหินกลางเริ่มรู้จักการอยู่รวมกลุ่มเป็นสังคมมากขึ้น ยุคหินใหม่ (๖,๐๐๐ – ๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว)
เป็นช่วงเวลาที่มนุษย์รู้จักทำเครื่องมือด้วยหินขัดเป็นมันเรียบ เรียกว่า ขวานหินขัด
ใช้สำหรับตัดเฉือนแบบมีดหรือต่อด้ามเพื่อใช้เป็นเครื่องมือขุดหรือถาก
มนุษย์ยุคหินใหม่มีความเจริญมากกว่ายุคก่อน ๆ รู้จักตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่ง รู้จักการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์
ทำภาชนะดินเผา
อ้างอิงภาพ https://i.ytimg.com/vi/G1d0Gr2BAlU/maxresdefault.jpg
๒) ยุคโลหะ
เป็นช่วงที่มนุษย์มีพัฒนาการด้านการทำเครื่องมือเครื่องใช้
โดยรู้จักการนำแร่ธาตุมาถลุงและหลอมใช้หล่อทำเป็นอาวุธหรือเครื่องมือและเครื่องประดับต่าง
ๆ แบ่งสมัยได้ตามวัตถุของโลหะ คือ ยุคสำริด (๔,๐๐๐ – ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว)
เป็นช่วงเวลาที่มนุษย์รู้จักใช้โลหะสำริด(ทองแดงผสมดีบุก)
ทำเครื่องมือเครื่องใช้และเครื่องประดับ
มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีกว่ายุคหิน อาศัยอยู่ร่วมกันเป็นชุมชนขนาดใหญ่ขึ้น
รู้จักปลูกข้าวและเลี้ยงสัตว์ ยุคเหล็ก (๒,๕๐๐ – ๑,๕๐๐ ปีมาแล้ว)
เป็นช่วงเวลาที่มนุษย์รู้จักนำเหล็กมาทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ ซึ่งมีคุณภาพดีแข็งแกร่งกว่าสำริด การดำรงชีวิตด้วยการเกษตรกรรม มีการติดต่อค้าขายระหว่างชุมชนต่าง
อ้างอิงภาพhttp://prehistoricpcctrgxix.myreadyweb.com/storage_upload/20/95233/uploads/images/1_3.jpg
๑.๒ ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
สมัยประวัติศาสตร์สมัยประวัติศาสตร์เริ่มเมื่อมนุษย์รู้จักคิดประดิษฐ์ตัวอักษรบันทึกเรื่องราวต่างๆ
ที่เกี่ยวกับความเชื่อ พิธีกรรม จึงทำให้เรารู้เรื่องราวที่ละเอียดชัดเจนมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม บันทึกที่เป็นลายลักษณ์อักษรอาจไม่สมบูรณ์หรือสูญหายถูกทำลายไป
นักประวัติศาสตร์จึงต้องใช้หลักฐานทางโบราณคดีมาประกอบการวิเคราะห์ข้อมูล
สมัยประวัติศาสตร์นิยมแบ่งเป็น
๑) ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ (๓,๕๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราช–ค.ศ. ๔๗๖)
เป็นช่วงเวลาที่อารยธรรมเมโสโปเตเมียและอารยธรรมอียิปต์ซึ่งเป็นอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลกจนถึง
ค.ศ. ๔๗๖ เมื่อจักรวรรดิโรมันตะวันตกล่มสลาย ถือเป็นการสิ้นสุดสมัยโบราณ
๒) ประวัติศาสตร์สมัยกลาง (ค.ศ. ๔๗๖–ค.ศ. ๑๔๕๓)
เป็นช่วงที่ตะวันตกรับอิทธิพลจากคริสต์ศาสนาเป็นอย่างมาก ทั้งทางด้านการเมือง
เศรษฐกิจ สังคมและศิลปวัฒนธรรม
นอกจากนี้สังคมในสมัยกลางยังมีลักษณะเป็นสังคมระบบฟิวดัล (feudalism)
๓) ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ (ค.ศ. ๑๔๕๓–๑๙๔๕)
เป็นสมัยแห่งความรุ่งเรืองทางวิทยาการของอารยธรรมตะวันตกและแผ่อิทธิพลไปยังดินแดนอื่น
ๆ
๔) ประวัติศาสตร์สมัยปัจจุบัน (ค.ศ. ๑๙๔๕–ปัจจุบัน)
เป็นช่วงสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ซึ่งมีผลกระทบรุนแรงทั่วโลก และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านเศรษฐกิจ
สังคม การเมืองการปกครองต่อสังคมโลกในปัจจุบัน
อ้างอิงภาพhttp://p1.isanook.com/mn/0/ud/36/184322/hmc04180756p1.jpg
อ้างอิงภาพ http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/876/49876/images/Bath_53.jpg
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-1/the_importance_of_history/index.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น