ประกาศวันสอบปลายภาค มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2559 ระหว่างวันที่ 29พฤศจิกายน - 12 ธันวาคม 2559

วันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

        ที่มาของศักราชและวิธีการเทียบศักราช
  การศึกษาประวัติศาสตร์จึงมีความสำคัญต่อมนุษย์ในยุคปัจจุบันเป็นอย่างมาก นักประวัติศาสตร์จึงได้แบ่งเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ออกเป็นยุคสมัยของมิติเวลา ดังนี้
การนับศักราช
การศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ พบว่ามีการระบุเวลาเมื่อกล่าวถึงเหตุการณ์นั้นๆ โดยระบุเป็นปีศักราช จุดเริ่มต้นของศักราชที่ ๑ จะเริ่มนับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์สำคัญอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยการศึกษาประวัติศาสตร์ในยุคสมัยต่างๆ จำเป็นต้องเข้าใจความหมายของศักราชต่างๆ ด้วย เพราะจะช่วยให้ทราบว่าในปีนั้นๆ มีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นบ้าง การนับปีศักราชนับว่าเป็น ภูมิปัญญาของมนุษย์สมัยโบราณ ศักราชมีทั้งแบบสากลและแบบไทย ดังนี้

. การนับปีศักราชแบบสากล
               ๑.๑ คริสต์ศักราช หรือ ค.ศ. โดยใช้เหตุการณ์สำคัญทางคริสต์ศาสนาเป็นจุดเริ่มต้น เริ่มนับตั้งแต่ปีที่พระเยซูประสูติเป็นปี ค.ศ. ๑ สำหรับช่วงเวลาก่อนพระเยซูประสูติให้เรียกเป็น ก่อนคริสต์ศักราช (ก่อน ค.ศ. หรือ B.C = Before Christ)
               ๑.๒ ฮิจเราะห์ศักราช หรือ ฮ.ศ. ฮิจเราะห์มาจากภาษาอาหรับ แปลว่า การอพยพ   เป็นการนับศักราชในประเทศที่มีการนับถือศาสนาอิสลามโดยเริ่มนับ ฮ.ศ. ๑ เมื่อท่านนบีมูฮัมหมัดนำเหล่าสาวกอพยพจากเมืองเมกกะไปยังเมืองเมดินา ตรงกับพุทธศักราช ๑๑๖๕ หากจะเทียบ ปีฮิจเราะห์ศักราชเป็นปีพุทธศักราช จะต้องบวกด้วย ๑๑๒๒ เพราะการเทียบรอบปีของฮิจเราะห์ศักราชและพุทธศักราช จะมีความคลาดเคลื่อนทุก ๆ ๓๒ ปีครึ่งของฮิจเราะห์ศักราชจะเพิ่มขึ้นอีก ๑ ปี เมื่อเทียบกับพุทธศักราช

. การนับศักราชแบบไทย
     ๒.๑ พุทธศักราช (พ.ศ.) เป็นศักราชที่นิยมใช้ในประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา มีการใช้กันมาตั้งแต่สมัยอยุธยา และใช้กันอย่างเป็นทางการของประเทศไทย ครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๔๕๕ แทนรัตนโกสินทร์ศก ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน โดยประเทศไทยเริ่มนับ พ.ศ. ๑ เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้วครบ ๑ ปี เป็น พ.ศ. ๑
     ๒.๒ มหาศักราช (ม.ศ.) นิยมใช้มากในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ประเภทศิลาจารึกและพงศาวดารต่าง ๆ ทั้งสมัยสุโขทัย และสมัยอยุธยาตอนต้น มหาศักราชถูกตั้งขึ้นโดยพระเจ้า กนิษกะแห่งราชวงศ์กุษาณะ กษัตริย์ผู้ครองอินเดีย โดยเริ่มภายหลังพุทธศักราช ๖๒๒ (มหาศักราชตรงกับ พ.ศ. ๖๒๒)
     ๒.๓ จุลศักราช (จ.ศ.) เป็นศักราชที่ได้รับอิทธิพลจากพม่า โดยพระมหากษัตริย์ของพุกาม เริ่มใช้นับครั้งแรกในพม่า พ.ศ. ๑๑๘๒ และใช้แพร่หลายเข้าสู่อาณาจักรล้านนา โดยเริ่มภายหลังพุทธศักราช ๑๑๘๑ ปี ไทยนิยมใช้จุลศักราชในการคำนวณทางโหราศาสตร์ ใช้บอกปีในจารึก ตำนาน จดหมายเหตุ พงศาวดาร จนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงประกาศยกเลิก และมีการใช้รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) แทน
      ๒.๔ รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) เป็นศักราชที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงกำหนดใช้ครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๓๒๕ โดยเริ่มนับปีที่ได้มีการสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นราชธานีใน พ.ศ. ๒๓๒๕ เป็น ร.ศ. ๑ และได้ประกาศยกเลิกใช้ในต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

         ๓. การเทียบศักราช
             การนับศักราชที่แตกต่างกันจะทำให้เกิดความไม่ชัดเจนในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยและสากล ดังนั้น การเทียบศักราชให้เป็นแบบเดียวกัน จะช่วยให้สามารถศึกษาเรื่องราวประวัติศาสตร์ได้เข้าใจมากขึ้น  ตลอดจนทำให้ทราบถึงช่วงศักราชหรือช่วงเวลาเดียวกัน ในแต่ละภูมิภาคของโลกเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ศึกษาอย่างแท้จริง  จึงต้องมีการเทียบศักราช จากศักราชหนึ่งไปยังอีกศักราชหนึ่ง โดยคำนวณจากศักราชทั้งสองมีช่วงเวลาที่แตกต่างกันอยู่กี่ปี  แล้วนำไปบวกหรือลบแล้แต่กรณี
 หลักเกณฑ์การเทียบศักราช โดยคำนวณหาเกณฑ์บวกลบเฉพาะพุทธศักราช (พ.ศ.) มีดังนี้
               พุทธศักราช          มากกว่า         คริสต์ศักราช              ๕๔๓    ปี
               พุทธศักราช          มากกว่า         มหาศักราช                ๖๒๑    ปี
               พุทธศักราช          มากกว่า         จุลศักราช                ๑,๑๘๑   ปี
               พุทธศักราช          มากกว่า         รัตนโกสินทร์ศก         ๒,๓๒๔   ปี
               พุทธศักราช          มากกว่า         ฮิจเราะห์ศักราช         ๑,๑๒๒   ปี
           การเทียบศักราชในระบบต่างๆ สามารถนำมาเปรียบเทียบให้เป็นศักราชแบบเดียวกัน ได้ดังนี้
               ม.ศ. + ๖๒๑       =       พ.ศ.      พ.ศ. ๖๒๑        =          ม.ศ.
               จ.ศ. + ๑๑๘๑     =       พ.ศ.      พ.ศ. ๑๑๘๑      =          จ.ศ.
               ร.ศ. + ๒๓๒๔     =       พ.ศ.      พ.ศ. ๒๓๒๔       =          ร.ศ.
               ค.ศ. + ๕๔๓       =       พ.ศ.      พ.ศ. ๕๔๓         =          ค.ศ.
               ฮ.ศ. + ๑๑๒๒     =       พ.ศ.      พ.ศ. ๑๑๒๒       =          ฮ.ศ.
  จากพุทธศักราชเปลี่ยนเป็นคริสต์ศักราช  ให้นำ พ.ศ. ลบ ๕๔๓   ตัวอย่างเช่น พ.ศ. ๒๕๔๙ เปลี่ยนเป็น ค.ศ. โดยนำ ๕๔๓ มาลบออก  ( ๒๕๔๙๕๔๓ ) ปี ค.ศ. ที่ได้คือ ๒๐๐๖
  จากคริสต์ศักราชเปลี่ยนเป็นพุทธศักราช  ให้นำ ค.ศ. บวก ๕๔๓   ตัวอย่างเช่น ค.ศ. ๒๐๐๔ เปลี่ยนเป็น พ.ศ. โดยนำ ๕๔๓ มาบวก  ( ๒๐๐๔ + ๕๔๓ปี พ.ศ. ที่ได้คือ ๒๕๔๗
  จากจุลศักราชเปลี่ยนเป็นพุทธศักราช  ให้นำ จ.ศ. บวก ๑๑๘๑   ตัวอย่างเช่น จ.ศ. ๑๑๓๐ เปลี่ยนเป็น พ.ศ. โดยนำ ๑๑๘๑ มาบวก  ( ๑๑๓๐ + ๑๑๘๑ปี พ.ศ. ที่ได้คือ ๒๓๑๑

  จากรัตนโกสินทร์ศกเปลี่ยนเป็นพุทธศักราช  ให้นำ ร.ศ. บวก ๒๓๒๔   ตัวอย่างเช่น ร.ศ. ๑๓๒ เปลี่ยนเป็น พ.ศ. โดยนำ ๒๓๒๔ มาบวก  ( ๑๒๓ + ๒๓๒๔ปี พ.ศ. ที่ได้คือ ๒๔๕๖

การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์ไทย

การแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ตามแบบไทย
นักประวัติศาสตร์นิยมแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ตามแบบไทย  ที่มีลักษณะเป็นรูปแบบของตนเอง ดังนี้
๑. แบ่งตามสมัยหรือตามเวลาที่เริ่มมีตัวอักษร โดยแบ่งได้ ๒ สมัย ดังนี้
         ๑.๑ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ หมายถึง ยุคที่ยังไม่มีการบันทึกเรื่องราวเป็นลายลักษณ์อักษร  แบ่งออกเป็นยุคหิน (ยุคหินเก่า ยุคหินกลาง ยุคหินใหม่) และยุคโลหะ (ยุคสำริด ยุคเหล็ก) โดยมีการขุดค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทยตามลำดับ
         ๑.๒ สมัยประวัติศาสตร์ หมายถึง ยุคที่มนุษย์เริ่มมีการใช้ตัวอักษรบันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆ จากหลักฐานที่ค้นพบ ได้แก่ หลักศิลาจารึก
๓.๒) แบ่งยุคสมัยตามอาณาจักร ได้มีการแบ่งยุคสมัยตามอาณาจักร ได้แก่ อาณาจักรทวารวดี(นครปฐม) อาณาจักรละโว้ (ลพบุรี) อาณาจักรตามพรลิงค์ (นครศรีธรรมราช) อาณาจักรศรีวิชัย (สุราษฎร์ธานี)  อาณาจักรหริภุญชัย (ลำพูน)
๓.๓) แบ่งยุคสมัยตามราชธานี เป็นการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ตามราชธานีของไทยเรียงความลำดับ เช่น สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สมัยธนบุรีและสมัยรัตนโกสินทร์
๓.๔) แบ่งยุคสมัยตามพระราชวงศ์ เป็นการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ตามพระราชวงศ์ เช่น สมัยราชวงศ์พระร่วงของอาณาจักรสุโขทัย สมัยราชวงศ์อู่ทอง สมัยราชวงศ์สุพรรณภูมิ สมัยราชวงศ์สุโขทัย สมัยราชวงศ์ปราสาททอง สมัยราชวงศ์บ้านพลูหลวง โดยทั้งหมดเป็นชื่อพระราชวงศ์ที่ครองราชย์สมบัติเป็นกษัตริย์ในสมัยอยุธยา ราชวงศ์จักรี ในสมัยรัตนโกสินทร์
๓.๕) แบ่งยุคสมัยตามรัชกาล เป็นการแบ่งยุคสมัยในช่วงเวลาที่พระมหากษัตริย์พระองค์นั้นครองราชย์อยู่ ได้แก่ รัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

๓.๖) แบ่งยุคสมัยตามระบอบการเมืองการปกครอง ได้แก่ สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์และสมัยประชาธิปไตย โดยถือเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ เป็นเส้นแบ่งยุคสมัยการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย

VDO ศึกษาเพิ่มเติม


ขอขอบคุณ 
https://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=8&cad=rja&uact=8&ved=0ahUKEwj34fCf1cbQAhWJOY8KHZo6BacQFghBMAc&url=http%3A%2F%2Fdlit.ac.th%2Fresources_ftp%2FSOCIAL%2FLessonPlans%2FS1%2F%25E0%25B8%259B%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B0%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%25A8%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25A3%25E0%25B9%258C_%25E0%25B8%25A11_%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%2599%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%25B5%25E0%25B9%25881_%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25B2%25E0%25B9%2581%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25B0%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B9%2581%25E0%25B8%259A%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25B8%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%259B%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B0%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%25A8%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25A3%25E0%25B9%258C.doc&usg=AFQjCNHK9R7fy6mz95-bxVmxQxWUjoU-Ig
ประวัติศาสตร์ ม.

      คำว่า “ประวัติศาสตร์” หรือ History มาจากคำภาษากรีกว่า Historia ซึ่งแปลว่า การไต่สวน สืบสวน ค้นคว้า ตรวจสอบ วินิจฉัยเรื่องราวต่าง ๆ นักประวัติศาสตร์และผู้รู้หลายท่านให้คำนิยาม ความหมายของประวัติศาสตร์ ไว้ต่าง ๆ กันมากมายหลายความหมาย แต่ก็ยังไม่มีคำจำกัดความที่ตายตัวแน่นอนมาจน ทุกวันนี้
  • ลิโอ ตอลสตอย กล่าวว่า “ประวัติศาสตร์คือเรื่องราวของชีวิต ของประเทศชาติและมนุษยชาติ….”
  • ดร.สมศักดิ์ ชูโต อธิบายว่า “วิชาประวัติศาสตร์พยายามที่จะบันทึกและทำความเข้าใจกับปรากฏการณ์ต่างๆ ในโลกอันเกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์ทุกด้าน……”
  • พล.ท.ดำเนิร เลขะกุล ได้สรุปความคิดเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ว่า “คือ บันทึกที่บรรยายเรื่องราวทุก ๆ ด้านในอดีตของมนุษย์ และบันทึกนั้นเป็น ความจริงที่สามารถพิสูจน์ได้ซึ่งอาจจะเป็นการเรียบเรียงต่อเนื่องกันมาโดยตลอด หรือเรียบเรียงเฉพาะตอนหนึ่งตอนใดของเรื่องทั้งหมดก็ได้…...”
  • ดร.แถมสุข นุ่มนนท์ ให้ทรรศนะว่า “ประวัติศาสตร์คือ การไต่สวนเข้าไปให้รู้ถึงความจริงที่เกี่ยวกับพฤติกรรมของ มนุษยชาติที่เกิดขึ้นในช่วงใดช่วงหนึ่งของอดีต…”
การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
         ๑. การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ตามแบบสากล
จุดมุ่งหมายในการแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ เป็นยุคสมัยต่างๆ เพื่อให้เกิดความสะดวกในการศึกษาค้นคว้าเรื่องราวของมนุษย์ในอดีตและช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้น ช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ตามแบบสากลแบ่งออกเป็น ๒ สมัย คือ
     ๑.๑ สมัยก่อนประวัติศาสตร์
      สมัยก่อนประวัติศาสตร์  เป็นช่วงเวลาที่มนุษย์ยังไม่รู้จักการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้  จึงยังไม่
มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นลายลักษณ์อักษร ดังนั้นการศึกษาเรื่องราวของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์  จึงต้องอาศัยการวิเคราะห์และตีความจากหลักฐานทางโบราณคดีที่ค้นพบ เช่น เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องประดับที่ทำจากหิน โลหะ และโครงกระดูกมนุษย์
อ้างอิงภาพ https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEg7CTzw8qnS3nIGyWycqSxm3Bv1G1tVvcc59cTiCFnwPPrasVsB6611rbj205VcVYOf0Epy9jkP41ggrRLUfTZyKkYPdPa9DCBsvelJoNZGVhXtaz_b1e7MRmjsxC-xfFSe1y9kpALqUDY/s400/Paleolithic-life.jpg
ปัจจุบันการกำหนดอายุสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย  อาศัยพัฒนาการทางเทคโนโลยีแบบแผนการดำรงชีพและสังคม  ยุคสมัยทางธรณีวิทยา  นำมาใช้ร่วมกันในการกำหนดยุคสมัย  โดยสามารถแบ่งยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ได้ดังนี้
๑) ยุคหิน เริ่มเมื่อประมาณ ๕๐๐,๐๐๐ ถึง ๔,๐๐๐ ปี ล่วงมาแล้ว  แบ่งเป็น ๓ ยุคย่อย ดังนี้ ยุคหินเก่า (๕๐๐,๐๐๐๑๐,๐๐๐ ปีมาแล้ว ) เป็นช่วงเวลาแรก ๆ ของมนุษยชาติ  มนุษย์รู้จักใช้เครื่องมือขวานหินกะเทาะ  ในระยะแรก  เครื่องมือจะมีลักษณะหยาบ โดยนำหินกรวดแม่น้ำมากะเทาะเพียงด้านเดียวและไม่ได้กะเทาะหมดทั้งก้อน  ใช้สำหรับขุดสับและสับตัด  มนุษย์ในยุคหินเก่า ดำรงชีวิตอย่างเร่ร่อน  ล่าสัตว์และหาของป่ากินเป็นอาหาร ยุคหินกลาง (๑๐,๐๐๐๖,๐๐๐ ปีมาแล้ว) เป็นช่วงเวลาที่มนุษย์รู้จักทำเครื่องมือเครื่องใช้สำหรับล่าสัตว์ด้วยหินที่มีความประณีตมากขึ้นและมนุษย์ในยุคหินกลางเริ่มรู้จักการอยู่รวมกลุ่มเป็นสังคมมากขึ้น ยุคหินใหม่ (๖,๐๐๐๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว) เป็นช่วงเวลาที่มนุษย์รู้จักทำเครื่องมือด้วยหินขัดเป็นมันเรียบ  เรียกว่า ขวานหินขัด ใช้สำหรับตัดเฉือนแบบมีดหรือต่อด้ามเพื่อใช้เป็นเครื่องมือขุดหรือถาก มนุษย์ยุคหินใหม่มีความเจริญมากกว่ายุคก่อน ๆ รู้จักตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่ง  รู้จักการเพาะปลูก  เลี้ยงสัตว์  ทำภาชนะดินเผา
อ้างอิงภาพ https://i.ytimg.com/vi/G1d0Gr2BAlU/maxresdefault.jpg
๒) ยุคโลหะ เป็นช่วงที่มนุษย์มีพัฒนาการด้านการทำเครื่องมือเครื่องใช้  โดยรู้จักการนำแร่ธาตุมาถลุงและหลอมใช้หล่อทำเป็นอาวุธหรือเครื่องมือและเครื่องประดับต่าง ๆ แบ่งสมัยได้ตามวัตถุของโลหะ คือ ยุคสำริด (๔,๐๐๐๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว) เป็นช่วงเวลาที่มนุษย์รู้จักใช้โลหะสำริด(ทองแดงผสมดีบุก) ทำเครื่องมือเครื่องใช้และเครื่องประดับ  มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีกว่ายุคหิน อาศัยอยู่ร่วมกันเป็นชุมชนขนาดใหญ่ขึ้น รู้จักปลูกข้าวและเลี้ยงสัตว์ ยุคเหล็ก (๒,๕๐๐ ,๕๐๐ ปีมาแล้ว) เป็นช่วงเวลาที่มนุษย์รู้จักนำเหล็กมาทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้  ซึ่งมีคุณภาพดีแข็งแกร่งกว่าสำริด  การดำรงชีวิตด้วยการเกษตรกรรม  มีการติดต่อค้าขายระหว่างชุมชนต่าง
อ้างอิงภาพhttp://prehistoricpcctrgxix.myreadyweb.com/storage_upload/20/95233/uploads/images/1_3.jpg

๑.๒ ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
               สมัยประวัติศาสตร์สมัยประวัติศาสตร์เริ่มเมื่อมนุษย์รู้จักคิดประดิษฐ์ตัวอักษรบันทึกเรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยวกับความเชื่อ พิธีกรรม จึงทำให้เรารู้เรื่องราวที่ละเอียดชัดเจนมากขึ้น อย่างไรก็ตาม บันทึกที่เป็นลายลักษณ์อักษรอาจไม่สมบูรณ์หรือสูญหายถูกทำลายไป นักประวัติศาสตร์จึงต้องใช้หลักฐานทางโบราณคดีมาประกอบการวิเคราะห์ข้อมูล สมัยประวัติศาสตร์นิยมแบ่งเป็น
๑) ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ (๓,๕๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราชค.ศ. ๔๗๖) เป็นช่วงเวลาที่อารยธรรมเมโสโปเตเมียและอารยธรรมอียิปต์ซึ่งเป็นอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลกจนถึง ค.ศ. ๔๗๖ เมื่อจักรวรรดิโรมันตะวันตกล่มสลาย ถือเป็นการสิ้นสุดสมัยโบราณ
๒) ประวัติศาสตร์สมัยกลาง (ค.ศ. ๔๗๖ค.ศ. ๑๔๕๓) เป็นช่วงที่ตะวันตกรับอิทธิพลจากคริสต์ศาสนาเป็นอย่างมาก ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและศิลปวัฒนธรรม นอกจากนี้สังคมในสมัยกลางยังมีลักษณะเป็นสังคมระบบฟิวดัล (feudalism)
๓) ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ (ค.ศ. ๑๔๕๓–๑๙๔๕) เป็นสมัยแห่งความรุ่งเรืองทางวิทยาการของอารยธรรมตะวันตกและแผ่อิทธิพลไปยังดินแดนอื่น ๆ
๔) ประวัติศาสตร์สมัยปัจจุบัน (ค.ศ. ๑๙๔๕ปัจจุบัน) เป็นช่วงสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ซึ่งมีผลกระทบรุนแรงทั่วโลก และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครองต่อสังคมโลกในปัจจุบัน
อ้างอิงภาพhttp://p1.isanook.com/mn/0/ud/36/184322/hmc04180756p1.jpg
อ้างอิงภาพ http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/876/49876/images/Bath_53.jpg

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-1/the_importance_of_history/index.html

วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

                                    อะไรคือ....สังคม???


         สังคม หรือ สังคมมนุษย์ คือการอยู่รวมกันของมนุษย์โดยมีลักษณะความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันหลายรูปแบบ เช่น อาชีพ อายุ เพศ ศาสนา ฐานะ ที่อยู่อาศัย ฯลฯ สำหรับระบบสังคมที่รวมถึงสิ่งมีชีวิตประเภทอื่นนอกเหนือจากมนุษย์อาจใช้คำว่าระบบนิเวศ ซึ่งมีความหมายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตต่างๆกับสภาพแวดล้อม สังคมของมนุษย์เกิดจากกลุ่มบุคคลที่มีความสนใจร่วมกันไม่ว่าจะในด้านใด เช่น ประเทศ จังหวัด และอื่นๆ และมักจะมีวัฒนธรรมหรือประเพณีรวมถึงภาษา การละเล่นและอาหารการกินของตนเองในแต่ละสังคม การที่มนุษย์รวมกันเป็นสังคมนั้น ช่วยให้มนุษย์สามารถสร้างและพัฒนาสิ่งต่างๆ ให้ประสบความสำเร็จได้ ซึ่งอาจเป็นไปไม่ได้ถ้าต้องทำสิ่งนั้นโดยลำพัง ขณะเดียวกันสังคมที่พัฒนาหรือกำลังพัฒนาเป็นเมืองขนาดใหญ่ ซึ่งมีการใช้เทคโนโลยีช่วยในการทำงานอย่างมากนั้น ก็อาจส่งผลให้ประชากรที่ไม่สามารถปรับตัวตามสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลง เกิดความรู้สึกโดดเดี่ยวหรือความรู้สึกว่าตนเองไม่มีส่วนร่วมในสังคมขึ้นมาได้.
 เราลองไปชมวิดีโอตัวอย่างกัน

แล้ววิชาสังคมศึกษาล่ะ?
         กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมว่าด้วยการอยู่ร่วมกันในสังคม ที่มีความเชื่อมสัมพันธ์กัน และมีความแตกต่างกันอย่างหลากหลาย เพื่อช่วยให้สามารถปรับตนเองกับบริบทสภาพแวดล้อม เป็นพลเมืองดี มีความรับผิดชอบ มีความรู้ ทักษะ คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม โดยได้กำหนดสาระต่างๆไว้ ดังนี้
          • ศาสนา ศีลธรรมและจริยธรรม แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม หลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือ การนำหลักธรรมคำสอนไปปฏิบัติในการพัฒนาตนเอง และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข เป็นผู้กระทำความดี มีค่านิยมที่ดีงาม พัฒนาตนเองอยู่เสมอ รวมทั้งบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมและส่วนรวม
          • หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิต ระบบการเมืองการปกครองในสังคมปัจจุบันการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ลักษณะและความสำคัญ การเป็นพลเมืองดี ความแตกต่างและความหลากหลายทางวัฒนธรรม ค่านิยม ความเชื่อ ปลูกฝังค่านิยมด้านประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สิทธิ หน้าที่ เสรีภาพการดำเนินชีวิตอย่างสันติสุขในสังคมไทยและสังคมโลก
         • เศรษฐศาสตร์ การผลิต การแจกจ่าย และการบริโภคสินค้าและบริการ การบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดอย่างมีประสิทธิภาพ การดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ และการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวัน
         • ประวัติศาสตร์ เวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ วิธีการทางประวัติศาสตร์ พัฒนาการของมนุษยชาติจากอดีตถึงปัจจุบัน ความสัมพันธ์และเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่างๆ ผลกระทบที่เกิดจากเหตุการณ์สำคัญในอดีต บุคคลสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆในอดีต ความเป็นมาของชาติไทย วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย แหล่งอารยธรรมที่สำคัญของโลก
         • ภูมิศาสตร์ ลักษณะของโลกทางกายภาพ ลักษณะทางกายภาพ แหล่งทรัพยากร และภูมิอากาศของประเทศไทย และภูมิภาคต่างๆ ของโลก การใช้แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ ความสัมพันธ์กันของสิ่งต่างๆ ในระบบธรรมชาติ ความสัมพันธ์ของมนุษย์กับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น การนำเสนอข้อมูลภูมิสารสนเทศ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

วิชาสังคมศึกษา : ศาสตร์แห่งการบูรณาการ

โชตรัศมิ์ จันทน์สุคนธ์
    สังคมศึกษาเป็นวิชาที่มีการบูรณาการเนื้อหาแบบสห
วิทยาการอยู่แล้วโดยธรรมชาติ เนื่องจากมีเนื้อหาที่ครอบคลุม
ศาสตร์ในสาขาวิชาต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง อาทิ สังคมศาสตร์
มนุษยศาสตร์ คณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เป็นต้น
โดยผ่านการใช้แหล่งข้อมูลในการจัดรูปแบบกิจกรรมการเรียน
การสอนและการเรียนรู้ที่หลากหลาย การเรียนการสอนในกลุ่ม
วิชาสังคมศึกษาสามารถบูรณาการได้ทั้งในส่วนของเนื้อหาจาก
ศาสตร์ต่าง ๆ ประสบการณ์จากชีวิตจริง ทั้งที่ต่างเวลา ต่าง
พื้นที่ ต่างสังคม ต่างวัฒนธรรม ที่สามารถเชื่อมโยงองค์
ความรู้จากอดีต ปัจจุบัน และแนวโน้มของอนาคต ทั้งยัง
สามารถบูรณาการด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและ
การใช้สื่อหรือนวัตกรรมการเรียนการสอนได้อย่างไร้ขีดจำกัด
วิชาสังคมศึกษายังสามารถบูรณาการข้ามหลักสูตรได้เป็นอย่าง
ดี ไม่ว่าจะเป็นภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ ศิลปศึกษา และ
อื่น ๆ ที่จะช่วยสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตให้แก่ผู้เรียน
พัฒนาเจตคติและมีพฤติกรรมที่ดีต่อตนเองและสังคม ซึ่งหาก
ครูผู้สอนวิชาสังคมศึกษาเป็นผู้มีความใฝ่รู้ กระตือรือร้นสนใจ
และพัฒนาตนเองในด้านการสอนอยู่เสมอก็จะยิ่งช่วยเพิ่มพูน
บทบาทความสำคัญของครูสอนสังคมและช่วยตอกย้ำถึง
ลักษณะเด่นของวิชาสังคมศึกษาในด้านของความเป็น ศาสตร์
แห่งการบูรณาการอย่างแท้จริง

เห็นไหมครับว่า วิชาสังคมนั้นเป็นวิชาที่ไม่ได้ง่ายเลย ฮ่าฮา แต่ก็ไม่ได้ยากเกินความสามรถของทุกคนนะครับ ผม ถ้าทุกคนสนุกกับมัน รับรองว่าทุกคนต้องหลงไหลไปกับเนื้อหาสาระของวิชาสังคมแน่ๆเลย เช่นวิชา ประวัติศาสตร์ ก็จะทำให้เรารุ้สึกว่าเหมือนขี่ไทม์แมชชีนท่องเวลาไปในสถานที่เหตุการณ์สำคัญๆต่างๆเลยล่ะครับ
     เอาล่ะครับ สำหรับวันนี้ทุกคนก็พอได้รู้แล้วนะครับว่า สังคมคืออะไรแล้วทำไมเราต้องเรียน พบกันใหม่โอกาสหน้านะครับ ขอบคุณครับ^^

#ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://krujumroon.wordpress.com/tag/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/ 

จาก http://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/438




วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

สวัสดีครับท่านผู้ชมทุกท่าน >///<
        กระผมนายณัฐวุฒิ มาทา นิสิตชั้นปีที่1 คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
        กระผมสร้างเว็บบล็อกนี้ขึ้นมา เพื่อประกอบการเรียนรายวิชานวัตกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทางการศึกษา(0503111) และยังเป็นช่องทางสื่อสารและเปลี่ยนความรู้ให้กับทุกๆคนเกี่ยวกับวิชาสังคมศึกษาในเบื่องต้น เพื่อให้เป็นความรู้เสริม เป็นเกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆ 555+
  สำหรับวิชาสังคมศึกษานั้น หลายคนคิดว่าเป็นวิชาที่ง่าย แค่ท่องจำก็ได้แล้ววว แต่อย่าลืมนะครับ สังคมศึกษานั้นก็ได้มีแยกย่อยๆไปเป็นรายวิชาอีก555 ไม่ว่าจะเป็น หน้าที่พลเมือง ภูมิศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ไทย จีน อเมริกา และพระพุทธศาสนา เห็นไหมครับว่าเนื้อหามันเยอะขนาดไหน TT ฉนั้นจำอย่างเดียวไม่พอเราต้องมีความเข้าใจในเนื้อหาด้วย ว่าสิ่งนี้เกิดแบบนี้จากอันนี้ๆๆๆ 5555 แต่ก็อย่าท้อนะครับ เราจะผ่านมันไปด้วยกัน 5555 
หวังว่าทุกท่านจะได้รับความรู้เล็ๆน้อยๆจากบล็อกของกระผมนะครับ 
#พบกันใหม่ในกระทู้หน้านะครับ 
                                                                สวัสดีค้าบบบบบบบบ^0^